ข้อเสนอแนะการจัดทำหลักสูตรอบรม "พื้นฐานวิศวกรรม การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ครั้งที่ 4 (ตัวอย่างข้อมูล)

“หมวกกันน็อค” ช่วยชีวิตได้จริงหรือ?
จากผลการศึกษาผู้บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยและต่างประเทศยืนยันชัดเจนตรงกัน การสวมหมวกนิรภัยจะช่วย
•ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ 72%
• ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตได้ถึง 39% ในกรณีที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนักขณะเกิดอุบัติเหตุ
• ลดค่ารักษาพยาบาลและลดจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 
หลักการ “กันน็อค”
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่ผู้ขับขี่รถจักยานยนต์มักถูกเหวี่ยงออกจากรถ ทำให้ศีรษะกระทบกับวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พื้นถนน หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานจะถูกออกแบบให้วัสดุภายนอกมีความแข็งแรงสามารถปกป้องศีรษะจากการกระแทกพื้นถนน
หมวกนิรภัยที่มีมาตรฐานดังกล่าว จะช่วยดูดซับและกระจายแรงไม่ให้ส่งต่อไปยังสมองด้านในด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัตินุ่มและยืดหยุ่นพิเศษในการซับแรงกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์

กลไกการ “กันน็อค”
การป้องกันและลดแรงกระแทกขั้นแรกของหมวกกันน็อคเริ่มที่ส่วนเปลือกนอกของหมวก  ซึ่งจะออกแบบให้ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก และสามารถจัดการกับพลังงานที่เกิดขึ้นจากการชน  จากนั้น จะเป็นหน้าที่ของวัสดุภายในหมวกกันน็อคซึ่งมักทำจากโฟมซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยืดหยุ่นเมื่อถูกกระแทก ดูดซับและกระจายแรง อันจะช่วยยืดช่วงเวลาก่อนที่ศีรษะจะหยุดการเคลื่อนไหวออกไปอีกประมาณ 6 มิลลิวินาที ซึ่งแม้จะเป็นระยะเวลาที่สั้นมากแต่ก็มีประโยชน์มาก เพราะสามารถช่วยลดแรงกระแทกไม่ให้ไปรวม ณ พื้นที่เล็ก ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะ ลดแรงกระแทกต่อเนื้อสมองโดยรวม ลดแรงหมุน ตลอดจนลดความตึงเครียดภายในได้
องค์ประกอบ “หมวกกันน็อค”
เปลือกนอก (Shell) ทำจากวัสดุชนิดพิเศษ จะต้องแข็งแรง น้ำหนักเบา เพื่อสามารถทนแรงกระแทกจากของแข็งและของมีคมได้โดยไม่แตกหรือทะลุได้ง่าย รองในเป็นชั้นบุที่ทำมาจากวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ความหนาแน่นสูง สามารถรับและกระจายแรงกระแทกได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นโฟมชนิดโพลีสไตรีนที่ยืดออก หรือเรียกว่า “สไตโรโฟม”
แผ่นกันลม (Face shield) ติดอยู่ด้านหน้าของหมวกกันน็อค สำหรับป้องกันแสง ฝุ่น ฝน แมลง ฯลฯ ที่จะเข้าตาในขณะขับขี่รถจักรยานยนตร์ มีทั้งชนิดใส เพื่อใช้ในเวลากลางคืน และชนิดทึบเพื่อใช้ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด สามารถถอดเปลี่ยนได้
เบาะหุ้มภายใน ส่วนประกอบที่เพิ่มความอ่อนนุ่มขณะสวมใส่สามารถถอดออกได้เพื่อทำความสะอาด
สายรัดคาง (Chinstrap) ทำหน้าที่รัดให้หมวกกันน็อคติดแนบกับศีรษะไม่หลุดง่าย แต่ต้องรัดให้ถูกวิธี หากรัดไว้หลวม ๆ หรือไม่รัด หมวกอาจหลุดออกจากศีรษะโดยง่ายเป็นเหตุให้ศีรษะยังคงเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายและบาดเจ็บเสมือนไม่ได้สวมหมวก
ช่องระบายอากาศ ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนภายในหมวกให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายขณะที่สวมใส่ จะต้องมีขนาดไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และต้องออกแบบอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย

ประเภท “หมวกกันน็อค”
หมวกเต็มใบ สามารถป้องกันศีรษะทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และบริเวณคาง โดยทั่วไปจะมีน้ำหนัก ตั้งแต่ 1.2 ถึง 1.5 กิโลกรัม
หมวกเปิดหน้า สามารถปกป้องศีรษะทั้งส่วนบนส่วนล่างและบริเวณส่วนหลัง ตลอดจนบริเวณกกหู มีน้ำหนักปานกลางประมาณ 700กรัมถึง 1 กิโลกรัม
หมวกครึ่งใบ มีลักษณะคล้ายหมวกเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีน้ำหนักเบาปกป้องได้แต่ครึ่งบนของศีรษะ
วิธีเลือกหมวกกันน็อคเบื้องต้น
1.  เลือกหมวกที่ได้มาตฐาน  หมวกที่ดีไม่จำเป็นต้องแพง และหมวกที่แพงก็อาจจะไม่ใช่หมวกที่ปลดภัยหากไร้การรับประกันจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ดังต่อไปนี้
    1.1 มอก. "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม"    
    1.2 ECE ย่อมาจาก Economic Commission for Europe (คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรป)  เป็นองค์กรตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าหลากหลายชนิดเหมือน มอก. 
         1.3 DOT ที่ย่อมาจาก Department of Transportation เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคสำหรับ  ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่กำหนดขึ้นโดยสำนักงานการขนส่งของประเทศสหรัฐอเมริกา 
    1.4 SHARP เป็นมาตรฐานการรับรองของกรมการขนส่งของประเทศอังกฤษ ที่ทำการทดสอบ  จากการสุ่มเอาหมวกกันน็อคที่จำหน่ายในร้านค้ามาทำการทดสอบอย่างเข้มข้น    
    1.5 SNELL มาตรฐานการทดสอบหมวกที่ถูกอกถูกใจขาซิ่งกันสุดๆ ในปัจจุบัน จาก SNELL Memorial Foundation 
2. วัดรอบศีรษะให้พอดี  หมวกได้มาตรฐานพอดีกับศรีษะคนสวมใส่ มีหลายขนาดทั้งหมวกเด็ก และหมวกผู้ใหญ่ ขณะที่หมวกในกลุ่มราคาประหยัดจะทำให้มีการปรับระดับรับรองขนาดศีรษะที่ยืดหยุ่นกว่าหลายเซนติเมตร ซึ่งเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักของตัวหมวก 
 3. ตอบโจทย์การใช้งาน
    ว่าด้วยรูปแบบของตัวหมวกนั้นมีหลากหลายมาก ซึ่งต่างก็ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน ต้องประเมินการใช้งานว่าควรใช้หมวกแบบไหน ตากแดดทั้งวัน ต้องลุยฝนด้วยไหม เพราะมีทั้งหมวก ครึ่งใบ เต็มใบ หมวกเต็มใบแบบเปิดคางได้ บางรุ่นมีแว่นกรองแสงในตัวอีกชั้นนึง หรือบางรุ่นก็รองรับ   การติดตั้งอุปกรณ์เสริมด้านการสื่อสารสำหรับคนที่ต้องเดินทางไกล 
4. สวยถูกใจในราคาตามงบ
    ตามความต้องการล้วน ๆ


image รูปภาพ
image

image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar